คำประกาศบัลโฟร์ ค.ศ. 1926
คำประกาศบัลโฟร์ ค.ศ. 1926

คำประกาศบัลโฟร์ ค.ศ. 1926

คำประกาศบัลโฟร์ ค.ศ. 1926 (อังกฤษ: Balfour Declaration of 1926) ประกาศในการประชุมใหญ่ผู้นำแห่งจักรวรรดิอังกฤษ ค.ศ. 1926 จัดขึ้น ณ กรุงลอนดอน โดยตั้งชื่อคำประกาศนี้ตามอาเธอร์ บัลโฟร์ ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรี (Lord President of the Council) เนื้อความคำประกาศนั้นรับรองว่าสหราชอาณาจักรและเหล่าประเทศในเครือจักรภพ... นั้นเป็นประชาคมที่ต่างปกครองตนเองภายในจักรวรรดิอังกฤษอันมีความเท่าเทียมกันทางสถานะและไม่มีประเทศใดที่จะด้อยกว่าในเรื่องของทั้งกิจการภายในและต่างประเทศ แต่ล้วนมีอัตลักษณ์สำคัญที่เหมือนกันผ่านความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และอีกยังถือเป็นส่วนหนึ่งของเหล่าประเทศในเครือจักรภพแห่งประชาชาติได้อย่างเสรี[1]คณะกรรมาธิการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในจักรวรรดิซึ่งมีบัลโฟร์เป็นประธานได้รับผิดชอบในการร่างเอกสารสำหรับเตรียมการต่างๆ จนถึงการลงมติเป็นเอกฉันท์โดยเหล่านายกรัฐมนตรีทั้งหลายในจักรวรรดิเมื่อ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1926[2] โดยแผนการนี้มีผู้เสนอโดยนายกรัฐมนตรีแอฟริกาใต้ เฮิร์ทซอก และนายกรัฐมนตรีแคนาดา วิลเลียม ไลอัน แมกเคนซี คิงคำประกาศนี้ได้ตกลงรับรองเพิ่มการมีเอกราชทางการเมืองและทางการทูตของประเทศในเครือจักรภพในช่วงภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และยังแนะนำให้ผู้สำเร็จราชการ (Governor General) ซึ่งเป็นผู้แทนพระองค์พระมหากษัตริย์ซึ่งถือเป็นประมุขแห่งรัฐโดยพฤตินัยของแต่ละประเทศนั้นไม่ควรมีหน้าที่เป็นผู้แทนของรัฐบาลสหราชอาณาจักร ในไม่กี่ปีถัดมา ได้เริ่มมีการจัดตั้งข้าหลวงใหญ่ (High Commissioner) ซึ่งบทบาทหน้าที่นั้นเกือบจะเหมือนกับเอกอัครข้าราชทูต ข้าหลวงใหญ่แห่งสหราชอาณาจักรได้รับการแต่งตั้งเป็นครั้งแรกเพื่อปฏิบัติราชการที่แคนาดา เมื่อปีค.ศ. 1928ข้อสรุปต่างๆ ของการประชุมใหญ่ผู้นำเมื่อปีค.ศ. 1926 ได้นำเข้ามาประชุมหารืออีกครั้งเมื่อการประชุมใหญ่ปีค.ศ. 1930 และได้บรรจุเข้าในธรรมนูญแห่งเวสต์มินสเตอร์ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1931 ในธรรมนูญนี้ได้ระบุไว้ว่ารัฐสภาสหราชอาณาจักรจะไม่ตรากฎหมายใดๆ เพื่อจะบังคับใช้เป็นกฎหมายในประเทศในเครือรัฐประเทศนั้นๆ ยกเว้นกรณีที่กฎหมายได้ระบุไว้ว่ารัฐบาลแห่งประเทศนั้นได้ร้องขอและให้การยินยอมการตรากฎหมายนั้นๆ[3]